วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

ความหมายเเละลักษณะของการจำนำ

จำนำ

1.ความหมายและลักษณะสำคัญของสัญญาจำนำ

ประมวลกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์

มาตรา 747 อันว่าจำนำนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนำส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจำนำ เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้

สำหรับความหมายของสัญญาจำนำนั้น พิจารณาได้จากบทบัญญัติตามมาตรา 747 ซึ่งจะเห็นว่าการจำนำก็คือ สัญญาหรือนิติกรรมสองฝ่ายประเภทหนึ่ง โดยบุคคลฝ่ายหนึ่งจะเรียกว่าผู้จำนำ ส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้ไว้เเก่บุคคลอีกฝ่ายคือผู้รับจำนำ เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ประธาน

จากความหมายของจำนำตามมาตรา 747 ข้างต้นนั้น ทำให้สรุปลักษณะสำคัญของสํญญาจำนำได้ดังนี้
  1.1 ทรัพย์ที่จำนำต้องเป็นสังหาริมทรัพย์เท่านั้น
  1.2 ต้องมีการส่งมอบทรัพย์ที่จำนำให้ผู้รับจำนำยึดถือเอาไว้
  1.3 หนี้ประธานที่มีการจำนำเป็นประกันต้องเป็นหนี้ที่สมบรูณ์ บังคับกันได้ตามกฎหมาย
  1.4 ผู้จำนำต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ที่จำนำ
  1.5 คู่สัญญาจำนำจะตกลงกันให้บุคคลภายนอกเป็นผู้เก็บรักษาทรัพย์ที่จำนำเพื่อประโยชน์ของผู้รับจำ   นำก้ได้ ตามมาตรา 749
  1.6 ผู้รับจำนำมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญ
  1.7 บุคคลภายนอกก็จำนำเพื่อประกันหนี้อันบุคคลอื่นต้องชำระได้


2.ทรัพย์ที่จำนำย่อมเป็นประกันการชำระหนี้เเละค่าอุปกรณ์

ประมวลกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์

มาตรา 748 การจำนำนั้นย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้ กับ ทั้งค่าอุปกรณ์ต่อไปนี้ด้วย คือ
(1) ดอกเบี้ย(2) ค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้(3) ค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนำ(4) ค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาทรัพย์สินซึ่งจำนำ(5) ค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่ความชำรุด บกพร่องแห่งทรัพย์สินจำนำซึ่งไม่เห็นประจักษ์ 

จากบทบัญญัติมาตรา 748 จะเห็นได้ว่าค่าอุปกรณ์ ได้เเก่


1. ดอกเบี้ย
2. ค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้
3. ค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนำ
4. ค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาทรัพย์สินซึ่งจำนำ
5. ค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่ความชำรุด บกพร่องแห่งทรัพย์สินจำนำซึ่งไม่เห็นประจักษ์

3.การจำนำสิทธิซึ่งมีตราสาร

ประมวลกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์
มาตรา 750 ถ้าทรัพย์สินที่จำนำเป็นสิทธิซึ่งมีตราสาร และมิได้ ส่งมอบตราสารนั้นให้แก่ผู้รับจำนำ ทั้งมิได้บอกกล่าวเป็นหนังสือแจ้ง การจำนำแก่ลูกหนี้แห่งสิทธินั้นด้วยไซร้ ท่านว่าการจำนำย่อมเป็นโมฆะ 

สำหรับสิทธิซึ่งมีตราสารตามมาตรา 750 ได้เเก่

  (ก) ใบประทวนสินค้า
  (ข) ใบตราส่ง
  (ค) ใบหุ้น
  (ง) ตั๋วเงิน

ในเรื่องการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสาร กฎหมายได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ ดังต่อไปนี้

  (1) หากจำนำสารทั่วๆไป
  (2) หากจำนำตราสารขนิดออกให้บุคคลเพื่อเขาสั่ง
  (3) การจำนำตราสารที่ออกให้เเก่บุคคลอื่นโดยนามซึ่งจะโอนกันด้วยการสลักหลังไม่ได้
  (4) การจำนำใบหุ้นหรือใบหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อ


4.หลักปฏิบัติเมื่อสิทธิจำนำถึงกำหนดชำระก่อนหนี้ประธาน

ประมวลกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์ 

าตรา 754 ถ้าสิทธิซึ่งจำนำนั้นถึงกำหนดชำระก่อนหนี้ซึ่งประกัน ไว้นั้นไซร้ ท่านว่าลูกหนี้แห่งสิทธิต้องส่งมอบทรัพย์สินอันเป็นวัตถุ แห่งสิทธิให้แก่ผู้รับจำนำ และทรัพย์สินนั้นก็กลายเป็นของจำนำแทน สิทธิซึ่งจำนำ
ถ้าสิทธิซึ่งจำนำนั้นเป็นมูลหนี้ซึ่งต้องชำระเป็นเงิน และถึงกำหนด ชำระก่อนหนี้ซึ่งประกันไว้นั้นไซร้ ท่านว่าต้องใช้เงินให้แก่ผู้รับจำนำและ ผู้จำนำร่วมกัน ถ้าและเขาทั้งสองนั้นไม่ปรองดองตกลงกันได้ ท่านว่า แต่ละคนชอบที่จะเรียกให้วางเงินจำนวนนั้นไว้ ณ สำนักงานฝาก ทรัพย์ได้เพื่อประโยชน์อันร่วมกัน
จะเห็นว่าถ้าเป็นกรณีการส่งมอบทรัพย์ ลูกหนี้เเห่งสิทธิต้องมอบให้ไว้กับผู้รับจำนำ เเต่ถ้าเป็นเงินก็ต้องส่งมอบให้เเก่ผู้รับจำนำเเละผู้จำนำร่วมกัน ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้ใช้วิธีวางทรัพย์เเทน

5.ห้ามตกลงบังคับชำระหนี้เป็นอย่างอื่นก่อนหนี้ประธานจะถึงกำหนดชำระหนี้เท่านั้น

ประมวลกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์

มาตรา 756 การที่จะตกลงกันไว้เสียแต่ก่อนเวลาหนี้ถึงกำหนด ชำระเป็นข้อความอย่างใดอย่างหนึ่งว่า ถ้าไม่ชำระหนี้ ให้ผู้รับจำนำ เข้าเป็นเจ้าของทรัพย์สินจำนำ หรือให้จัดการแก่ทรัพย์สินนั้นเป็น ประการอื่นนอกจากตามบทบัญญัติทั้งหลายว่าด้วยการบังคับจำนำ นั้นไซร้ ข้อตกลงเช่นนั้นท่านว่าไม่สมบูรณ์

เหตุที่กฎหมายห้ามตกลงก่อนหนี้ประธานถึงกำหนดชำระเพราะบางครั้งทรัพย์ที่จำนำ อาจมีมูลค่ามากกว่าหนี้ที่เป็นประกัน หากยอมให้ตกลงกันล่วงหน้าได้ก็อาจเป็นช่องทางให้มีการบีบบังคับให้ลูกหนี้จำยอมก็ได้ เเต่ถ้าตกลงกันเมื่อหนี้ประธานถึงกำหนดชำระเเล้ว กฎหมายไม่ห้าม เช่น ตกลงว่าให้เอาทรัพย์จำนำหลุดเป้นสิทธิของผู้จำนำโดยไม่ต้องขายทอดตลาด เป็นต้น

6.การใช้กฎหมายลักษณะจำนำบังคับเเก่กิจการโรงรับจำนำ

ประมวลกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์
มาตรา 757 บทบัญญัติทั้งหลายในลักษณะ 13 นี้ท่านให้ใช้บังคับ แก่สัญญาจำนำที่ทำกับผู้ตั้งโรงรับจำนำ โดยอนุญาตรัฐบาลแต่เพียง ที่ไม่ขัดกับกฎหมายหรือข้อบังคับว่าด้วยโรงจำนำ


จะเห็นว่ามาตรา 757 ให้นำกฎหมายลักษณะจำนำไปใช้บังคับกับสัญญาจำนำที่ทำกับโรงรับจำนำซึ่งเป็นนิติบุคคลด้วย เเต่ให้ใช้เพียงเท่าที่ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 (มีการเเก้ไขเพิ่มเติมเมื่อ พ.ศ.2517) ซึ่งถือเป็นกฎหมายเฉพาะ เเละใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน โดยตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำนั้น เเม้ผู้จำนำจะไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินที่จำนำเจ้าของจะติดตามเอาคืนโดยไม่ยอมไถ่ถอนจำนำไม่ได้ (ซึ่งต่างจากการจำนำไว้กับบุคคลธรรมดา)

เว้นเเต่ใน 5 กรณีต่อไปนี้ เจ้าของติดตามเอาคืนได้โดยไม่ต้องไถ่ถอนจำนำ คือ

1.โรงรับจำนำได้รับจำนำสิ่งของที่เห็นได้ว่าเป็นของที่ใช้ในราชการ หรือ
2.เป็นทรัพย์หรือสิ่งของที่ได้รับเเจ้งตามมาตรา 21 เเห่งพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ หรือ
3.รับจำนำโดยรู้หรือควรรู้ว่าทรัพย์นั้นได้มาโดยการกระทำผิด หรือ
4.ได้รับจำนำไว้โดยำม่ปฎิบัติตามมาตรา 18 ทวิ หรือ
5.รับจำนำสิ่งของที่ราคาเกินกว่า 10000 บาท ซึ่งโรงรับจำนำจะไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา4

7.สิทธิหน้าที่ของผู้รับจำนำเเละผู้จำนำ

สิทธิหน้าที่ของผู้รับจำนำ ได้เเก่

1.สิทธิยึดทรัพย์ที่จำนำไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้สิ้นเชิง
2.สิทธิในการจัดสรรดอกผลนิตินัยนำมาชำระหนี้
3.หน้าที่รักษาเเละสงวนทรัพย์ที่จำนำเช่นวิญญูชน
4.หน้าที่ที่จะไม่นำทรัพย์จำนำออกใช้ หากฝ่าฝืนต้องรับผิดในความสูญหายหรือบุบสลาย

สิทธิหน้าที่ของผู้จำนำ ได้เเก่

1.สิทธิให้ผู้รับจำนำสงวนรักษาทรัพย์จำนำ เช่น วิญญูชน
2.สิทธิได้รับค่าสินไหมทดเเทนหากเกิดความเสียหายจากการที่ผู้รับจำนำเอาทรัพย์จำนำออกใช้
3.หน้าที่เสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาทรัพย์จำนำ
4.หน้าที่ที่ไม่เเก้ไขหรือทำให้สิทธิที่จำนำสิ้นไป 

8.อายุความในการเรียกค่าเสียหายเเละค่าใช้จ่าย

ประมวลกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์

มาตรา 763 ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ เมื่อพ้น หกเดือนนับแต่วันส่งคืน หรือขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนำ คือ
(1) ฟ้องเรียกสินไหมทดแทนเพื่อความบุบสลายอันผู้รับจำนำ ก่อให้เกิดแก่ทรัพย์สินจำนำ
(2) ฟ้องเรียกให้ชดใช้ค่าใช้จ่ายเพื่อการบำรุงรักษาทรัพย์สินจำนำ
(3) ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายอันเกิดแก่ผู้ รับจำนำเพราะความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินจำนำซึ่งไม่เห็นประจักษ์

จะเห็นว่าอายุความ 6 เดือน ใช้เฉพาะกรณีตามมาตรา 736(1) - (3) หากเป็นค่าเสียหายจากการที่ทรัพย์จำนำสูญหายหรือบุบสลายเนื่องจากการกระทำของผู้รับจำนำตามมาตรา 750 ต้องใช้อายุความทั่วไป ตามมาตรา 193/30 คือ 10 ปี

9.การบังคับจำนำ

สำหรับเรื่องการบังคับจำนำเเยกพิจารณาได้เป็น 2 หัวข้อ

9.1 วิธีการบังคับจำนำ

ประมวลกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์

มาตรา 764 เมื่อจะบังคับจำนำ ผู้รับจำนำต้องบอกกล่าวเป็น หนังสือไปยังลูกหนี้ก่อนว่า ให้ชำระหนี้และอุปกรณ์ภายในเวลา อันควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้น 

ถ้าลูกหนี้ละเลยไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าว ผู้รับจำนำชอบที่จะเอา ทรัพย์สินซึ่งจำนำออกขายได้ แต่ต้องขายทอดตลาด
อนึ่ง ผู้รับจำนำต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังผู้จำนำบอกเวลา และสถานที่ซึ่งจะขายทอดตลาดด้วย

จากมาตรา 764 จะเห็นได้ว่ากฎหมายวางหลักเกณฑ์การบังคับจำนำไว้ดังนี้

1 การบังคับจำนำต้องใช้วิธีขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องศาล
2 ก่อนบังคับจำนำต้องมีหนังสือบอกกล่าวให้ ลูกหนี้ ชำระหนี้เสียก่อน
3 สำหรับข้อยกเว้นกรณีไม่ต้องกล่าวในเรื่องการบังคับจำนำมีด้วยกัน 2 กรณี ตามมาตรา 765 เเละ 766

9.2 ผลบังคับจำนำ

ประมวลกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์
มาตรา 767 เมื่อบังคับจำนำได้เงินจำนวนสุทธิเท่าใด ท่านว่า ผู้รับจำนำต้องจัดสรรชำระหนี้และอุปกรณ์เพื่อให้เสร็จสิ้นไป และถ้า ยังมีเงินเหลือก็ต้องส่งคืนให้แก่ผู้จำนำ หรือแก่บุคคลผู้ควรจะได้เงินนั้น
ถ้าได้เงินน้อยกว่าจำนวนค้างชำระท่านว่าลูกหนี้ก็ยังคงต้องรับ ใช้ในส่วนที่ขาดอยู่นั้น 

10. ความระงับสิ้นไปเเห่งสัญญาจำนำ


ประมวลกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์

มาตรา 769 อันจำนำย่อมระงับสิ้นไป
(1) เมื่อหนี้ซึ่งจำนำเป็นประกันอยู่นั้นระงับสิ้นไปเพราะเหตุประการ อื่นมิใช่เพราะอายุความ หรือ
(2) เมื่อผู้รับจำนำ ยอมให้ทรัพย์สินจำนำกลับคืนไปสู่ครอบครอง ของผู้จำนำ


สำหรับสาเหตุที่ทำให้สัญญาจำนำระงับ ตามมาตรา 769 มีด้วยกัน 2 กรณี คือ

1 หนี้ประธานระงับโดยเหตุใดๆ ซึ่งมิใช่อายุความ
2 เมื่อผู้รับจำนำยอมให้ทรัพย์จำนำกลับคืนไปสู่การครอบครองของผู้จำนำ


คำพิพากษาฎีกา

- คำพิพากษาฎีกาที่ 490/2502 กู้เงินกันและในสัญญากู้มีข้อความด้วยว่า จำเลยได้นำโคมาจำนำไว้ แต่ปรากฏว่า เมื่อทำสัญญากู้กันแล้ว ผู้ให้กู้ (โจทก์) ได้ยินยอมมอบโคกลับคืนไปสู่การครอบครองของจำเลย เช่นนี้ ถือว่าจำเลยหาได้มอบโคไว้เป็นประกันการชำระหนี้ตามความหมายในลักษณะจำนำไม่  จึงขาดองค์ความผิดข้อสำคัญ ตาม มาตรา 349


- คำพิพากษาฎีกาที่ 1050/2507 จำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์โดยเอาที่ดินเป็นประกันเงินกู้ ต่อมาจำเลยเอาที่ดินแปลงนี้ไปจำนองเสีย การกระทำของจำเลยดังนี้ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 349 และ 350

คำพิพากษาฎีกาที่ 1363/2550 (ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) โจทก์ร่วม) โจทก์ร่วมกับจำเลยทำสัญญาจำนำข้าวระหว่างกันโดยโจทก์ร่วมยอมให้ข้าวอยู่ในความครอบครอบของจำเลย ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยมอบข้าวไว้เป็นประกันการชำระหนี้ตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะจำนำ เมื่อไม่มีการจำนำจึงขาดองค์ประกอบที่จะเป็นความผิดข้อหาโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 349 / โจทก์ร่วมเช่าโกดังเก็บข้าวซึ่งเป็นโกดังที่จำเลยใช้ประกอบกิจการโรงสีของจำเลย เมื่อทำสัญญาเช่าแล้วจำเลยเป็นผู้ถือกุญแจโกดังเพียงฝ่ายเดียว จำเลยเป็นผู้ครอบครองโกดังอยู่เช่นเดิม สัญญาเช่าที่ทำไว้มีค่าเช่าเพียงปีละ 100 บาท นับว่าน้อยมาก จึงเป็นการทำสัญญาเช่าเป็นแบบพิธีเท่านั้น คู่สัญญาไม่ได้มีเจตนาให้เป็นการเช่าตามกฎหมายอย่างแท้จริง กรณีถือว่าจำเลยยังเป็นผู้ครอบครองโกดังที่เช่าอยู่ตลอดเวลาจำเลยจึงไม่อาจรบกวนการครอบครองของตนเองได้ ไม่มีความผิดฐานบุกรุก



บรรณานุกรม


สมพงศ์ สุวรรณสุดา. กฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์ ว่าด้วย ค้ำประกัน จำนอง จำนำ. ครั้งที่พิมพ์ 3. กรุงเทพฯ : ศูนย์เเนะนำกฎหมาย นิติศาส์น (ลุงชาวใต้), 2556.



Lawyerthai. Lawthai. Thaithai (Online) Available HTTP : http://www.lawyerthai.com/law/articles.php?articleid=6&cat=456(26สิงหาคม2556)


สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.(Online) Available HTTP : http://www.lawreform.go.th/lawreform/images/th/jud/th/thsc/2500/cd_685.pdf(26สิงหาคม2556)


Note


1.ค่าฤชาธรรมเนียม[-รึชา-] (กฎ) น. ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการดําเนินคดี รวมถึงค่าป่วยการพยาน ค่าทนายความ ค่าธรรมเนียมในการส่งเอกสาร และบังคับคดี และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ บรรดาที่กฎหมายบังคับให้เสีย.

2.หนี้น. เงินที่ผู้หนึ่งติดค้างอยู่จะต้องใช้ให้แก่อีกผู้หนึ่ง, หนี้สิน ก็ว่า; (กฎ) นิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตั้งแต่ ๒ ฝ่ายขึ้นไป ซึ่งฝ่ายหนึ่งเรียกว่า เจ้าหนี้ มีสิทธิที่จะบังคับบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ลูกหนี้ ให้กระทําการหรือ งดเว้นกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง. (อ. obligation); โดยปริยายหมายถึง การที่จะต้องตอบแทนบุญคุณเขา.


3.วิญญูชน

(กฎ) น. บุคคลผู้รู้ผิดรู้ชอบตามปรกติ.

4.ขายทอดตลาด
(กฎ) น. การขายทรัพย์สินที่กระทําโดยเปิดเผยแก่บุคคล ทั่วไปด้วยวิธีเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อสู้ราคากัน ผู้ใดให้ราคาสูงสุดและผู้ทอด ตลาดแสดงความตกลงด้วยเคาะไม้หรือด้วยกิริยาอย่างอื่นตามจารีต ประเพณีในการขายทอดตลาด ผู้นั้นเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินนั้น.

5.พระราชบัญญัติ(กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดย คําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา.
6.อายุความ(กฎ) น. ระยะเวลาที่กฎหมายกําหนดให้ใช้สิทธิ เรียกร้อง บังคับฟ้อง หรือร้องทุกข์.
7.สัญญาน. (กฎ) ข้อตกลงระหว่างบุคคล ๒ ฝ่ายหรือหลายฝ่ายว่าจะกระทําการ หรืองดเว้นกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง; ข้อตกลงกัน, คำมั่น
8.ประกันก. รับรองว่าจะรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น, รับรองว่าจะมีหรือ ไม่มีเหตุการณ์นั้น ๆ. น. หลักทรัพย์ที่ให้ไว้เป็นเครื่องรับรอง.
9.ดอกเบี้ย(กฎ) น. ค่าตอบแทนที่บุคคลหนึ่งต้องใช้ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เพื่อการที่ได้ใช้เงินของบุคคลนั้น หรือเพื่อทดแทนการไม่ชําระหนี้หรือ ชําระหนี้ไม่ถูกต้อง
10.สังหาริมทรัพย์[หาริมะ, หาริมมะ] น. ทรัพย์ที่นําไปได้ เช่น แหวน สร้อย โต๊ะ เก้าอี้, คู่กับอสังหาริมทรัพย์; (กฎ) ทรัพย์สินอื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์ และรวมถึงสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วย.



kanyarat kaittivattanagul 
5517469 ,computer for law ,ABAC